Khun Hua (Lor)

เปลี่ยนรหัสผ่าน
รหัสผ่านเดิม
รหัสผ่านใหม่
ยืนยันรหัสผ่านใหม่

อีเมล์ / ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ลืมรหัสผ่าน
homepage about khunhua products services gold tips news KhunHua Member contact & location
ห้างทองคุณฮั้ว (หล่อ)
ประเภทสินค้า
gold
gold
ค้นหาสินค้า
 
gold
news & events

ทิศทาง SMEs ไทย จะปรับตัวอย่างไรเพื่อเข้าสู่ AEC

31 กรกฎาคม พ.ศ.2556

สศอ.เผยผลสำรวจศึกษาเพื่อติดตามการปรับตัวของอุตสาหกรรม SMEs ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ วางแผนรองรับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และปัจจัยที่จำเป็นต่อการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมที่เป็น SMEs ไทย โดยสำรวจปรับตัวในอุตสาหกรรมสำคัญ 15 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) อาหารและเครื่องดื่ม 2) สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม 3) ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 4) ผลิตภัณฑ์ไม้ 5) ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ 6) เคมีภัณฑ์ 7) ผลิตภัณฑ์พลาสติก 8) ผลิตภัณฑ์ยาง 9) ซีเมนต์ คอนกรีต  10) เซรามิก 11) แก้ว 12) อัญมณีและเครื่องประดับ 13) ผลิตภัณฑ์เหล็ก และโลหะ 14) ยานยนต์และชิ้นส่วน 15) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่าจากผลการสำรวจการปรับตัวของผู้ประกอบการพบว่าอุตสาหกรรมที่เป็น SMEs ร้อยละ 83.5 เห็นว่าธุรกิจของตนมีความจำเป็นต้องปรับตัว และเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และปัจจัยที่ผู้ประกอบการเห็นว่ามีความสำคัญต่อการปรับตัวเป็นอันดับแรก ร้อยละ 91.5 คือ การบริหารต้นทุนและราคา อันดับรองลงมา ร้อยละ 77.8 คือ การปรับตัวด้านภาษา และอีกร้อยละ 71.2 เป็นการเจาะตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวได้เร็วที่สุด คือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก คิดเป็นจำนวนผู้ที่ปรับตัวและกำลังดำเนินการปรับตัว ร้อยละ 82.4 ที่มีการปรับตัวและกำลังปรับตัวเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเป็นวัตถุดิบขั้นกลางของอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องการสินค้าที่มีคุณภาพอีกทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความรู้และกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีในระดับทันสมัย

 

นอกจากนี้ ยังมีอัญมณีและเครื่องใช้ที่มีไฟฟ้าปรับตัวอยู่ระดับร้อยละ 55.5 สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวช้า คือ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เซรามิก และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น สำหรับปัจจัยที่ต้องเร่งปรับตัวสำหรับผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ การจัดการเรื่องราคาต้นทุนสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ เช่น ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ สินค้าคงคลัง, ฝีมือแรงงาน รวมถึงการเพิ่มมูลค่าในสินค้าด้วย (Value Added) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยร้อยละ 78.6 เชื่อว่าตนเองมีความพร้อมในการเข้าสู่ AEC จากความคิดเห็นของเอกชนการปรับตัวของอุตสาหกรรมนั้นควรจะพิจารณาตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จึงจะครอบคลุมกลุ่ม SMEs ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน และต้องศึกษาตลอดทั้ง Supply Chain อุตสาหกรรมอีกด้วย

 

ดร.สมชาย หาญหิรัญ กล่าวอีกว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีมาตรการ และโครงการต่าง ๆ ที่รองรับและให้การสนับสนุนในการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การบริหารต้นทุนและราคา เช่น โครงการภายใต้แผนงาน Productivity ของทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเจาะตลาด กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้มีโครงการเตรียมความพร้อม และการสร้างเครื่อข่ายธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ AEC โดยมีโรงงานที่เข้าร่วมโครงการนี้เป็นจำนวนมากโดย แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ โรงงาน 650 โรงงาน กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบการ 15,000 คน แยกเป็นผู้ตระหนักและเกิดการรับรู้ 10,000 คน และอบรมเชิงลึก 5,000 คน และกลุ่มที่ 3 เป็นคนงาน 5,000 คน

 

ปัจจัยทางด้านภาษายังเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อ SMEs ในการเข้าสู่ AEC แต่การดำเนินการปรับตัวยังอยู่ในระดับต่ำ คือ ประมาณร้อยละ 25 ดังนั้น อุตสาหกรรม SMEs จึงจำเป็นต้องหาแนวทางเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยปรับลดต้นทุนการผลิต พัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ฝีมือแรงงาน และทักษะด้านภาษาให้ดีขึ้น รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ของอาเซียน เช่น กฎหมายกฎระเบียบ ความต้องการสินค้า และรสนิยมการบริโภคของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ

gold
gold What is Selfie?
gold คำว่า TAPERING แปลว่าอะไร
gold Android คืออะไร
gold โลกฟื้น เอเชียไม่ฟื้น ถึงเวลาปรับตัวเล็กพึ่งจีน
gold สำรวจอาณาจักรธุรกิจ 3 มหาเศรษฐีอาเซียน
gold ทิศทาง SMEs ไทย จะปรับตัวอย่างไรเพื่อเข้าสู่ AEC
ห้างทองคุณฮั้ว (หล่อ)
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
สินค้าเด่น
บทความ
ข่าวที่น่าสนใจ
สมาชิก
ติดต่อเรา
สินค้า
- ทองคำแท่ง
- ทองรูปพรรณ 96.5%
- ทองรูปพรรณ 85%
- ทองรูปพรรณ 75%
- Pink Gold
- งานพระเลี่ยมทอง
- งานกรอบพระ
ห้างทองคุณฮั้ว (หล่อ)
1/10-12 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

ชั้น 1 ศูนย์การค้าดิโอลด์สยามพลาซ่า
โทรศัพท์ 0-2222-6028, 0-2225-0539, 0-2222-9534
แฟกซ์ 0-2225-5724

อีเมล์ sales@khunhua.com
เว็บไซต์ www.khunhua.com
khunhua group
www.khunhuagroup.com
www.KhunHua.com © 2012 All Rights Reserved.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทอง คุณฮั้ว (หล่อ) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับทองคำและเครื่องประดับ
ทองรูปพรรณ 96.5% : ทองรูปพรรณ 85%, ทองคำ 75% : ทอง 18 กะรัต : นาก : Pink Gold : จิวเวลลี่ + เพชร : ภาพทองคำ 999.9% : งานกรอบพระเลี่ยมทอง